ผอมได้ด้วยการกินเพียงอย่างเดียว ไม่ออกกำลังกาย
- Fitfoodfriendly
- Jun 4, 2020
- 1 min read
เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือของฟิตเนสเทรนเนอร์ชื่อดัง โมริ โทคุโระ ผู้ปฏิบัติวิธีลดความอ้วนแบบเดิมๆและสร้างนิสัยผอมง่ายอ้วนยาก สำเร็จมากกว่า 100,000 รายที่ญี่ปุ่น
ได้ข้อคิดดีดี เลยอยากเอาใจความบางช่วงบางตอนของหนังสือ มาเล่าสู่กันฟังดังนี้
ข้อแรก ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะในชีวิตประจำวันถือเป็นเรื่องที่ดี
ที่เป็นปัญหาคือมุ่งออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง หวังให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากๆ หรือฝืนกินน้อยจนเกินพอดี ควบคุมแคลอรี่อย่างสุดโต่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่อยากให้เลิกอย่างเด็ดขาด ผู้เขียนบอกว่า

คำว่า 'ลดความอ้วน' จริงๆแล้วหมายถึงการใส่ใจรายละเอียดในการกินอาหาร โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงแก้ไขนิสัยและพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้เป็นระเบียบขึ้น ต่างจากเป้าหมายเดิมเดิมที่พร่ำบอกตัวเองว่า ฉันจะผอมลง..กิโลให้ได้ซึ่งไม่เคยทำได้สำเร็จ
ข้อสอง ถ้าต้องการลดความอ้วนภาวะอารมณ์รักจิตใจเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก
เพราะฉะนั้นการปรับอารมณ์ความรู้สึกจะต้องมาก่อนเราต้องฝึกฝนการใช้ชีวิตด้วยการกินอาหารตามปกติแต่ปรับปรุงนิสัยการกินให้ดีขึ้น เราจึงต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องอยู่กับการกินอาหารและรู้จักพิจารณาตนเองตามจริงว่าเราจะฟื้นฟูพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นยังไง

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการลดความอ้วน คือการกินอาหาร แม้เราจะออกกำลังกายทุกวันก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับเราปรับปรุงพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายให้มากขึ้นถือเป็นวิธีที่ดีที่วิธีหนึ่งแต่การออกกำลังกายหนักขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยให้เราลดความอ้วนหากไม่ปรับพฤติกรรมการกิน
ไม่ใช่ว่าการจำกัดอาหารอย่างสุดโต่งแล้วก็การออกกำลังกายอย่างหนักจะไม่ได้ผลแต่มันไม่ใช่ผลลัพธ์ในยะยาวเราไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนั้นได้ทุกวันเมื่อเรากลับเข้ามาสู่ชีวิตตามปกติทุกอย่างก็จะเข้ารอยเดิมซ้ำยังทำให้เกิดปฏิกิริยาโยโย่ด้วย
ข้อสามการออกกำลังกายไม่จำเป็นต่อการลดความอ้วน

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีถ้าเราทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการกินก็จะยิ่งเวิร์ค เวลานักกีฬาต้องการลดไขมันในร่างกาย เค้าจะเน้นที่การลดปริมาณอาหารที่กินมากกว่าที่จะเพิ่มการชั่วโมงการออกกำลังกาย
ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือใส่ใจในเรื่องของการกินเลือกกินสิ่งที่อ้วนกินจัดลำดับก่อนหลังในการกินต้องเข้าใจว่าเราต้องกินปริมาณเท่าใดจึงจะเพียงพอและเหมาะสมสำหรับร่างกายของตัวเอง
ให้ประเมินจากค่า BMI หรือค่าดัชนีมวลกาย มีสูตรคำนวณคือ
น้ำหนักหน่วยกิโลกรัม หาร (ส่วนสูงหน่วยเมตร คูณ ส่วนสูงหน่วยเมตร ) ตัวอย่าง: หนัก 52 กิโลกรัม สูง 164 เซนติเมตร สูตร: 52 หาร (1.64 x 1.64) = BMI 19.33
ค่า BMI ควรอยู่ระหว่าง 18.5-25 หากเกิน 25 ถือว่า อ้วน
ข้อสี่ การเข้าฟิตเนสให้ลดความอ้วนคือความเข้าใจผิดอันใหญ่หลวง

ฟิตเนสมักมีโปรแกรมสอนแบบกลุ่มใหญ่ มักไม่ตอบสนองความต้องการของคนที่อยากลดความอ้วน เพราะว่าเทรนเนอร์หนึ่งคนน่ะต้องดูแลคนในคลาสมาก เอาจริงๆคลาสพวกเต้น หรือยกน้ำหนักก็มีคนน้อยมากที่ทำท่าผิด ทำยังไงก็ไม่โดนกล้ามเนื้อไม่ว่าจะบริหารร่างกายเยอะแค่ไหน ก็จะไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวังแล้วก็ยังส่งผลเสียต่อร่างกายอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บด้วย
เมื่อเทียบกับค่าเมมเบอร์ที่หมดไปกับฟิตเนส ผลลัพธ์ที่ได้ก็มักจะไม่ได้ทำให้เราแฮปปี้สักเท่าไหร่ ในความเป็นจริงคนเราอ่ะจะออกกำลังกายสม่ำเสมอและต่อเนื่องนั้นค่อนข้างยาก บางคนออกแค่สัปดาห์ละครั้ง บางคนสองถึงสามสัปดาห์ครั้ง
แรกๆเราก็พยายามไปออกกำลังกาย คือตั้งใจเลย เพราะเรารู้สึกว่าเสียค่าสมาชิกแพง ต้องไปเล่นให้คุ้ม แต่มันก็ได้แค่ช่วงแรกๆ เราสู้อยู่แปปเดียว แล้ววันนึงเราก็รู้สึกเบื่อ ที่สุดเราก็เลยเลิกไป
ผู้เขียนเค้าไม่ได้ต่อต้านฟิตเนสหรืออะไรนะ เค้ารู้ว่าคนที่รักการออกกำลังกายจะรู้สึกดี รู้สึกสดชื่นเวลาได้ขยับร่างกาย เค้าก็มองว่าไปฟิตเนสก็โอเค เราไปเพื่อสุขภาพกาย แล้วก็จิตใจ ได้ไปเจอผู้คน
Comments